แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี
-

รีวิว 10 แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี ประสิทธิภาพสูง แข็งแรงทนทาน และใช้งานได้ยาวนานอย่างคุ้มค่า ฉบับปี 2024

จากอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ค่าใช้จ่ายของคนเราในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้มีหนึ่งในเทรนด์ที่เกิดขึ้น และยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง อย่างการติดตั้งและใช้งานโซล่าเซลล์ เพื่อสร้างพลังงานจากที่บ้านของคุณเอง และถึงแม้การติดตั้งจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีตัวเลือกของสินค้ามากมาย ที่มีการวางจำหน่ายมาในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย โดยที่ในบทความนี้เราก็จะมาตอบคำถาม ว่าคุณควรเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดีจึงจะคุ้มค่าและน่าสนใจที่สุดในการใช้งาน

10 แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

Upspirit Mono 400W
อันดับ 1
  • พื้นที่รับแสงแบบคู่ขนาดใหญ่
  •  ใช้งานได้ครอบคลุมกับหลากหลายพื้นที่
  •  สร้างกำลังไฟฟ้าได้ที่ 400 วัตต์
  •  ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับโลก
  •  อายุการใช้งานยาวนาน 25 ปี
Diamond 450W
อันดับ 2
  • อายุการใช้งานยาวนานตลอด 25 ปี
  •  การสร้างกำลังไฟฟ้า 450 วัตต์
  •  มาตรฐานการกันน้ำ IP65
  •  วัสดุกรอบและเซลล์ที่ทนทานสูง
  •  ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
JIAPU 440W
อันดับ 3
  • ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตมากมาย
  •  อัตราการแปลงไฟมากกว่า 20%
  •  เทคโนโลยีการเคลือบแบบไร้รอยต่อ
  •  ทนทานต่อแรงลมและฝนที่ความแรง 5,400 PA ได้ดี
  •  วัสดุซิลิคอนเวเฟอร์คุณภาพสูงทนทานต่อสภาพแวดล้อม

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี 2024

สำหรับคนที่ต้องการประหยัดค่าไฟฟ้าให้ได้มากยิ่งขึ้น เราจะแนะนำสินค้าที่น่าสนใจให้คุณได้ลองเลือกซื้อกันดังต่อไปนี้

1. Upspirit Mono 400W

Upspirit Mono 400W
แบรนด์และรุ่นสินค้าUpspirit Mono 400W
ขนาด164 x 198.4 เซนติเมตร
น้ำหนัก
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด400 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า40 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด10 แอมป์

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี รุ่นแรกเป็นแผงโซล่าเซลล์แบบคู่ ที่ใช้งานชิ้นส่วนในการผลิต และออกแบบทุกส่วนมาให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 400 วัตต์ และการมีรายละเอียดส่วนอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับแรงดันไฟ้า 40 โวลต์ หรือแม้แต่กระแสไฟฟ้าสูงสุด 10 แอมป์ก็ตาม ซึ่งจากสเปกที่ถูกติดตั้งมาให้ในระดับนี้

จึงทำให้ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอก, การผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานบางส่วนในครัวเรือน, การใช้งานร่วมกับไฟติดถนน, การทำการเกษตร หรือแม้แต่การใช้งานในเชิงชลประธาน ก็สามารถตอบโจทย์ได้ดีด้วยกันทั้งสิ้น

จุดเด่น
  • พื้นที่รับแสงแบบคู่ขนาดใหญ่
  •  ใช้งานได้ครอบคลุมกับหลากหลายพื้นที่
  •  สร้างกำลังไฟฟ้าได้ที่ 400 วัตต์
  •  ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับโลก
  •  อายุการใช้งานยาวนาน 25 ปี
จุดควรพิจารณา
  • ราคาต่อหนึ่งแผงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าทั่วไปค่อนข้างสูง
  •  การติดตั้งต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่พอสมควร

2. Diamond 450W

Diamond 450W
แบรนด์และรุ่นสินค้าDiamond 450W
ขนาด195.6 x 99.2 x 4 เซนติเมตร
น้ำหนัก
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด450 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า
กระแสไฟสูงสุด11.2 แอมป์

รุ่นนี้เป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติน่าสนใจมากมาย ซึ่งสนับสนุนการติดตั้งและใช้งานภายในพื้นที่พักอาศัย ให้มีประสิทธิภาพและช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น โดยการรับพลังงานจากแผงตัวนี้ จะใช้งานเป็นกระจกนิรภัยพร้อมเซลล์ซิลิคอนโมโนคริสตัลไลน์ ที่มีความทนทานสูงและป้องกันน้ำได้ภายใต้มาตรฐาน IP67 และด้วยการใช้งานกรอบอะลูมิเนียมอโนไดซ์ ก็ยังทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นมาได้มากถึง 25 ปีอีกด้วย ที่สำคัญถึงแม้จะมีพื้นที่และขนาดที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก แต่ภาพรวมของการใช้งานก็สามารถสร้างพลังงานได้ถึง 450 วัตต์เลยทีเดียว

จุดเด่น
  • อายุการใช้งานยาวนานตลอด 25 ปี
  •  การสร้างกำลังไฟฟ้า 450 วัตต์
  •  มาตรฐานการกันน้ำ IP65
  •  วัสดุกรอบและเซลล์ที่ทนทานสูง
  •  ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
จุดควรพิจารณา
  • เหมาะสำหรับการติดตั้งเพื่อใช้งานเป็นระบบใหญ่
  • ความหนาของแต่ละแผ่นค่อนข้างมาก

3. JIAPU 440W

JIAPU 440W
แบรนด์และรุ่นสินค้าJIAPU 440W
ขนาด175 x 117 เซนติเมตร
น้ำหนัก
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด440 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า32.9 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด13.3 แอมป์

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี สำหรับแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ตัวนี้ ถูกออกแบบมาพร้อมการติดตั้ง ที่เหมาะสมกับทุกสภาพแวดล้อม ด้วยการรับรองมาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่น IP65 ที่ทำให้สามารถป้องกันแรงลมและฝนได้ถึงระดับ 5,400 PA และวางตำแหน่งของสายไฟต่าง ๆ มาให้ติดตั้งได้อย่างปลอดภัยในระบบ ด้วยเทคโนโลยีการเคลือบแบบไร้รอยต่อ

ที่จะช่วยป้องกันความชื้นเข้าสู่ภายในได้โดยตรง รวมไปถึงยังเสริมความทนทานให้ได้มากยิ่งขึ้น จากวัสดุแบบซิลิคอนเวเฟอร์คุณภาพสูงอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นด้วยการสร้างกำลังไฟ 440 วัตต์ และอัตราการแปลงไฟที่ 20% ขึ้นไป ก็ยังทำให้การใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่ คุณก็ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งในจำนวนที่มากนักด้วยเช่นกัน

จุดเด่น
  • ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตมากมาย
  •  อัตราการแปลงไฟมากกว่า 20%
  •  เทคโนโลยีการเคลือบแบบไร้รอยต่อ
  •  ทนทานต่อแรงลมและฝนที่ความแรง 5,400 PA ได้ดี
  •  วัสดุซิลิคอนเวเฟอร์คุณภาพสูงทนทานต่อสภาพแวดล้อม
จุดควรพิจารณา
  • มาตรฐานการกันน้ำ IP65 ต่ำกว่าสินค้าส่วนใหญ่ที่มีราคาใกล้เคียงกัน
  •  การติดตั้งค่อนข้างมีความซับซ้อน

4. LIVES Poly-72 LI-156-330W

LIVES Poly-72 LI-156-330W
แบรนด์และรุ่นสินค้าLIVES Poly-72 LI-156-330W
ขนาด195.6 x 992 x 4 เซนติเมตร
น้ำหนัก
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด330 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า37.65 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด8.77 แอมป์

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี ลำดับต่อมา LIVES Poly-72 LI-156-330W เป็นโซล่าเซลล์ที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ และสามารถสร้างกำลังไฟฟ้าได้ที่ 330 วัตต์ จากการใช้งานเซลล์รับไฟฟ้าจำนวน 72 เซลล์ ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากวัสดุชิดไพลีคริสตัล ซึ่งสามารถเก็บความร้อนและพลังงานได้ดี โดยจากการแปลงไฟเป็นระบบ Inverter

จึงทำให้คุณใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบ AC ได้ดีและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงยังสามารถเก็บพลังงานได้มีประสิทธิภาพ แม้ในวันที่มีแสงแดดอ่อนมากกว่าปกติก็ตาม นอกจากนี้ด้วยการถูกออกแบบมาเป็นแผงแบบยาว ก็ยังช่วยให้การติดตั้งภายในพื้นที่พักอาศัย คุณก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้งานในจำนวนที่มากนักด้วยในเวลาเดียวกัน

จุดเด่น
  • วัสดุรับพลังงานและเก็บความร้อนแบบไพลีคริสตัล
  •  สามารถติดตั้งกับพื้นที่ขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องใช้งานในจำนวนมากนัก
  •  ประสิทธิภาพโมดูลพลังงาน 18%
  •  สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า AC ภายในบ้านได้ดี
  •  การใช้งานที่ดีแม้สภาพการณ์ที่มีแดดอ่อน
จุดควรพิจารณา
  • ความยาวของแผงโซล่าเซลล์ค่อนข้างมาก
  •  การสร้างกำลังไฟฟ้าต่ำกว่ารุ่นอื่น ๆ ในราคาที่ใกล้เคียงกันพอสมควร

5. Flashfish 18V Solar Panel Single

Flashfish 18V Solar Panel Single
แบรนด์และรุ่นสินค้าFlashfish 18V Solar Panel Single
ขนาด
น้ำหนัก3.25 กิโลกรัม
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด100 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า18 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด5.56 แอมป์

Flashfish 18V Solar Panel Single เป็นแผงโซล่าเซลล์แบบพกพา ที่เหมาะสำหรับการใช้งานในกิจกรรมแคมป์ปิ้ง หรือการนำไปใช้ในการเดินป่าโดยเฉพาะ เนื่องจากสามารถพบเก็บได้ง่าย ช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้ในการทำกิจกรรมยังนอกสถานที่ได้อย่างเพียงพอ สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของรุ่นนี้ คือ การที่สามารถรองรับการชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้มาตรฐาน QC3.0 ได้ ผ่านการส่งออกไฟด้วยพอร์ต USB Type C ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับคุณได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบในด้านของประสิทธิภาพการแปรพลังงาน ก็ยังสามารถทำได้ในระดับที่สูงถึง 21.5 ถึง 23.5% เลยทีเดียว

จุดเด่น
  • รองรับการชาร์จพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายใต้มาตรฐาน QC3.0
  •  เหมาะสำหรับการพกพาไปใช้งานในกิจกรรมเดินป่า
  •  ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานสูงสุด 23.5%
  •  จำนวนแผงการรับพลังงานทั้งหมด 4 ส่วน
  •  มีส่วนที่เป็นกระเป๋าจัดเก็บอุปกรณ์อื่นถูกติดตั้งมาให้กับด้านนอกของแผงโซล่าเซลล์
จุดควรพิจารณา
  • กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจไม่เพียงพอกับบางสถานการณ์
  •  การกางเพื่อรับแสงอาทิตย์ค่อนข้างใช้พื้นที่มากพอสมควร

6. Qoolis 340W

Qoolis 340W
แบรนด์และรุ่นสินค้าQoolis 340W
ขนาด90 x 180 x 3.5 เซนติเมตร
น้ำหนัก20 กิโลกรัม
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด340 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า30.3 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด12.59 แอมป์

สำหรับอีกหนึ่งคำตอบของคำถามว่าควรเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดีจึงจะคุ้มค่า และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้มากที่สุด รุ่นนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ทั้งจากคุณสมบัติในภาพรวมการใช้งานต่าง ๆ ซึ่งทางผู้ผลิตสินค้าการันตีมาให้คุณใช้งานได้อย่างมั่นใจ พร้อมระยะเวลาการรับประกันกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อย

เลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ตัวนี้กับที่พักอาศัยของตนเอง ในการติดตั้งนั้นจะทำได้อย่างยืดหยุ่นกับทุกพื้นที่ เพราะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้สูง จากวัสดุที่ทนทานแบบ PET รวมไปถึงแต่ละแผ่นที่ทำการติดตั้ง ก็ยังมีความหนาเพียงแค่ 3.5 เซนติเมตรอีกด้วย

จุดเด่น
  • การรับประกันสินค้า 5 ปี
  •  แต่ละแผ่นมีความบางมากเป็นพิเศษ
  •  ติดตั้งได้ยืดหยุ่นกับทุกพื้นที่
  •  วัสดุแบบ PET ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ
  •  การติดตั้งและถอดย้ายได้ง่าย
จุดควรพิจารณา
  • อาจมีปัญหาเรื่องความเสียหายหากไม่ติดตั้งให้ดีหรือย้ายตำแหน่งบ่อย ๆ
  •  เมื่อเทียบกับขนาดแล้วการสร้างกำลังไฟฟ้าค่อนข้างต่ำ

7. SebO Solar Panel 6W

SebO Solar Panel 6W
แบรนด์และรุ่นสินค้าSebO Solar Panel 6W
ขนาด15.5 x 18 x 1.4 เซนติเมตร
น้ำหนัก
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด3.5 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า5 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด0.6 แอมป์

SebO Solar Panel 6W เป็นโซล่าเซลล์ที่แตกต่างจากรุ่นที่ผ่านมาทั้งหมด ที่ได้แนะนำให้คุณรู้จักกันอย่างมาก เนื่องจากลักษณะของสินค้าตัวนี้ จะเป็นการติดตั้งเพื่อให้พลังงานกับกล้องวงจรปิด หรืออุปกรณ์ที่จะต้องใช้แบตเตอรี่ และถูกติดตั้งอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง อย่างโคมไฟหรืออุปกรณ์รดน้ำต้นไม้เสียมากกว่า ทำให้การติดตั้งค่อนข้างทำได้ง่าย และไม่สามารถให้พลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ จากประสิทธิภาพการสร้างพลังงานที่ลดลง แต่ภาพรวมของสินค้าก็ยังมีความทนทานสูง และเพียงพอในการสร้างพลังงานให้กับอุปกรณ์ซักหนึ่งตัว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ ที่คุณต้องการในระยะยาว

จุดเด่น
  • สามารถติดตั้งและใช้งานได้ง่าย
  • มาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่น IP66
  •  เหมาะสำหรับกล้องวงจรปิดหรือโคมไฟขนาดเล็ก
  •  สามารถเลือกติดตั้งสายส่งออกพลังงานได้ทั้ง USB Type C และ Micro USB
  •  ฐานวางปรับองศาและทิศทางการรับแสงได้
จุดควรพิจารณา
  • การสร้างกำลังไฟฟ้าที่ค่อนข้างต่ำ
  • ไม่สามารถให้พลังงานกับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ได้เพียงพอ

8. TOPRAY 5W

TOPRAY 5W
แบรนด์และรุ่นสินค้าTOPRAY 5W
ขนาด19.3 x 24.5 x 1.8 เซนติเมตร
น้ำหนัก0.54 กิโลกรัม
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด5 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า12 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด

โซล่าเซลล์ตัวนี้เป็นแผงขนาดเล็ก ที่ถูกออกแบบมาเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ และให้พลังงานกับอุปกรณ์บางตัวโดยเฉพาะ ซึ่งจะแตกต่างจากแผงสำหรับกล้องวงจรปิดหรือโคมไฟ ที่คุณจะต้องทำการเชื่อมต่อสายเข้ากับอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ โดยตรง เพราะรุ่นนี้มีการติดตั้งคีมสำหรับการส่งไฟฟ้ามาให้ ส่งผลให้คุณสามารถใช้ชาร์จแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีการแบ่งแยกขั้วบวกและลบได้ภายในตัวเดียว นอกจากนี้ด้วยการออกแบบมาอย่างไม่ซับซ้อน จากการมีเพียงตัวโซล่าเซลล์ และส่วนสำหรับเชื่อมต่อสายส่งออกไฟเท่านั้น ก็ทำให้การติดตั้งไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ยากเลยแม้แต่น้อย

จุดเด่น
  • เหมาะสำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์หรือแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ
  •  ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องติดตั้ง
  •  ขนาดเล็กจัดเก็บได้อย่างประหยัดพื้นที่
  •  น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้ง่าย
  •  แบ่งแยกขั้วสายไฟแบบบวกลบมาให้อย่างชัดเจน
จุดควรพิจารณา
  • ใช้โซล่าเซลล์ประเภทผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยวอาจเก็บพลังงานได้ต่ำกว่าประเภทอื่น ๆ เล็กน้อยตามขนาด
  •  พื้นที่รับพลังงานค่อนข้างต่ำอาจใช้ระยะเวลาการรับพลังงานที่ค่อนข้างยาวนาน

 

 

9. Nataku 10W

Nataku 10W
แบรนด์และรุ่นสินค้าNataku 10W
ขนาด23.5 x 35 เซนติเมตร
น้ำหนัก
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด10 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า18 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด0.56 แอมป์

Nataku 10W เป็นโซล่าเซลล์ขนาดเล็ก สำหรับการใช้เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ ที่คุณจะสามารถเลือกใช้งานได้ ทั้งการเป็นอุปกรณ์ชาร์จพลังงานให้กับแบตเตอรี่ต่าง ๆ อย่างเป็นครั้งคราว หรือการนำไปใช้ในกิจกรรมแคมป์ปิ้ง ซึ่งส่วนประกอบพื้นฐานของการใช้งานนั้น จะประกอบด้วย การสร้างพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 10 วัตต์, แรงดันไฟฟ้า 18 โวลต์ และกระแสไฟฟ้าสูงสุด 0.56 แอมป์

ส่วนขนาดโดยรวมก็ยังมีขนาดกะทัดรัด ทำให้พกพาและใช้งานได้ง่าย รวมไปถึงยังไม่ต้องติดตั้งในการใช้งานเฉพาะที่อีกด้วย รวมไปถึงก็ยังเป็นอีกหนึ่งรุ่น ที่มีการแบ่งแยกขั้นส่งพลังงานออกมาเป็นบวกและลบอย่างเฉพาะด้วยในเวลาเดียวกัน

จุดเด่น
  • รองรับค่าแรงดันไฟฟ้าได้ 18 โวลต์
  •  การแบ่งแยกขั้วชาร์จพลังงานเป็นแบบบวกและลบ
  •  เหมาะสำหรับการใช้ชาร์จแบตเตอรี่
  •  ขนาดเล็กใช้งานและพกพาได้ง่าย
  •  สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้ง
จุดควรพิจารณา
  • การสร้างกำลังไฟฟ้าเพียง 10 วัตต์
  •  ความยาวสายค่อนข้างสั้น

 

10. Auoyo 6V 6W Solar Panel Foldable Solar Panel

Auoyo 6V 6W Solar Panel Foldable Solar Panel
แบรนด์และรุ่นสินค้าAuoyo 6V 6W Solar Panel Foldable Solar Panel
ขนาด14.5 x 30 เซนติเมตร
น้ำหนัก0.128 กิโลกรัม
พลังงานไฟฟ้าสูงสุด6 วัตต์
แรงดันไฟฟ้า6 โวลต์
กระแสไฟสูงสุด1.2 แอมป์

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี รุ่นสุดท้ายเป็นแผงรับพลังงานขนาด 6 วัตต์ ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความบางของแผงที่มากเป็นพิเศษ ช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้งานหรือติดตั้งแบบเฉพาะได้สะดวก ซึ่งสนับสนุนจุดเด่นในด้านนี้ให้ได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการมีน้ำหนักที่ต่ำเพียง 128 กรัมเท่านั้น โดยถึงแม้จะเป็นแผงที่มีขนาดเล็ก แต่ก็เพียงพอสำหรับการให้พลังงานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก อย่างสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, พาวเวอร์แบงค์ หรือแม้แต่พัดลมขนาดเล็ก ส่งผลให้ภาพรวมจึงค่อนข้างน่าสนใจ ในการนำไปใช้งานกับกิจกรรมแนวแคมป์ปิ้งด้วยนั่นเอง

จุดเด่น
  • การสร้างพลังงานค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับขนาดสินค้าโดยรวม
  •  น้ำหนักเบาเพียง 128 กรัม
  •  เหมาะสำหรับการใช้ในกิจกรรมแคมป์ปิ้ง
  •  ความบางที่ค่อนข้างมากเป็นพิเศษ
  •  การติดตั้งห่วงสำหรับติดตั้งแผงเข้ากับพื้นที่ที่หลากหลาย
จุดควรพิจารณา
  • ประสิทธิภาพการแปลงไฟไม่สูงมากนัก
  •  ไม่สามารถให้พลังงานกับอุปกรณ์จำนวนมากได้พร้อมกัน

วิธีเลือกซื้อ

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน

1. เลือกจากประเภทของโซล่าเซลล์

หากพูดถึงโซล่าเซลล์สิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงได้ มักจะเป็นแผ่นรับแสงขนาด ที่ใช้สำหรับการรับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแปลงมาเป็นพลังงานให้กับภายในบ้านหรืออาคารสำนักงานโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันสินค้าประเภทนี้ได้มีการออกแบบมาอย่างหลากหลาย เพื่อให้เข้ากันกับสถานการณ์อื่น ๆ ที่ตัวสินค้ามีความเหมาะสมและตอบโจทย์การใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น หมายความว่าหากคุณต้องการเลือกซื้อสินค้าในขั้นตอนแรก ก็ควรเรียนรู้เสียก่อนว่ามีประเภทสินค้าใดบ้าง และสินค้าแต่ละประเภทมีจุดเด่นอยู่ในเรื่องใด เพราะจะทำให้คุณเลือกใช้งานได้อย่างประเภทที่สุด

เนื่องจากสินค้าแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านการใช้งาน จนถึงขั้นที่หากคุณเลือกซื้อมาอย่างผิดลักษณะการใช้งาน ก็จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือใช้งานได้แม้แต่น้อยเลยทีเดียว ส่วนการเลือกซื้อนั้นจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมหรือพื้นที่การใช้งานเป็นหลัก เพราะมีการแบ่งแยกออกมาได้เป็นโซล่าเซลล์แบบติดตั้งเพื่อรับพลังงานภายในบ้าน, โซล่าเซลล์แบบพกพา และโซล่าเซลล์สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ที่แต่ละประเภทนั้นก็ยังคงมีช่วงราคาที่แตกต่างกันอย่างมากด้วยเช่นกัน

2. เลือกจากประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟ

แผงโซล่าเซลล์แต่ละตัวจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แตกต่างกันออกไป ตามการออกแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งทำให้ส่วนนี้เราจะต้องตัดสินใจ เพื่อให้เลือกสินค้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าได้เพียงพอตามความต้องการ โดยที่สินค้าแต่ละประเภทนั้น ก็จะมีรูปแบบการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป เช่น สำหรับแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่แบบใช้งานภายในบ้าน คุณก็จะต้องคำนวณเกี่ยวกับจำนวนพื้นที่ในการรับไฟฟ้าของแต่โซล่าเซลล์แต่ละแผ่น เพื่อให้สามารถติดตั้งและสร้างพลังงานได้อย่างเพียงพอ ทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบจากช่วงราคากับการสร้างพลังงานไฟฟ้า เพื่อคำนวณเกี่ยวกับความคุ้มค่าระหว่างสินค้าแต่ละรุ่นได้ด้วยนั่นเอง

ซึ่งหากคุณต้องการเลือกให้ง่ายดายที่สุด ก็ทำเพียงเลือกรุ่นที่มีมาตรฐาน และสามารถสร้างกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด เพื่อให้คุณสามารถติดตั้งในจำนวนแผงที่น้อย และค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดก็เพียงพอแล้ว

3. เลือกจากความทนทานของโซล่าเซลล์

เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์ ที่จะต้องถูกติดตั้งหรือจัดวาง เพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรง จึงทำให้มีโอกาสในการเกิดความเสียหาย หรือความผิดปกติในการใช้งานได้ค่อนข้างสูง ทำให้ก่อนการเลือกใช้งานสินค้าในระยะยาว คุณจะต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรงทนทาน เพื่อให้สามารถใช้งานสินค้าที่ซื้อมาได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

เนื่องจากโซล่าเซลล์มักจะเป็นสินค้าแบบเลือกซื้อครั้งเดียว เพื่อใช้งานและติดตั้งอย่างยาวนาน โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นประเภทติดตั้งเพื่อใช้งานภายในครัวเรือน ส่งผลให้สิ่งที่คุณจะต้องทำการตรวจสอบ จะเป็นเรื่องของวัสดุที่ใช้ผลิต และมาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่นเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่ารุ่นที่ดีที่สุดก็คือโซล่าเซลล์ ที่มาตรฐานสูงสุดเพื่พอให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศได้อย่างดีที่สุดนั่นเอง

ประเภทของโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี น่าซื้อ

1. โซล่าเซลล์แบบผลิตไฟฟ้าภายในบ้าน

โซล่าเซลล์ประเภทแรกจะเป็นลักษณะของแผงขนาดใหญ่ ที่เราพบเห็นกันว่าถูกติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน หรือพื้นที่ที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นประเภทที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความสามารถในการสร้างพลังงาน ที่สามารถทำได้ดีมากกว่าประเภทอื่น ๆ จากการมีพื้นที่รับแสงขนาดใหญ่ และประสิทธิภาพการแปลงไฟที่ค่อนข้างสูง แต่เพื่อให้สามารถให้พลังงานกับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้อย่างเพียงพอ อย่างเช่นบ้านหรือสถานที่ทำงานกลางแจ้ง จึงมักจะต้องมีการติดตั้งหลายชิ้นร่วมกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การติดตั้งจึงถือว่ามีความซับซ้อนที่มากที่สุดตามไปด้วยนั่นเอง

2. โซล่าเซลล์แบบพกพา

สำหรับแผงโซล่าเซลล์แบบพกพานั้น จะเน้นการนำไปใช้งานยังนอกสถานที่ หรือการทำกิจกรรมแบบเป็นครั้งคราว เช่น การทำกิจกรรมแคมป์ปิ้ง, การเดินป่า หรือการจัดงานเลี้ยงในพื้นที่สวนช่วงเวลากลางคืน ซึ่งลักษณะของการออกแบบนั้น จะเป็นแผงขนาดเล็กหลายชิ้น ที่ถูกผลิตขึ้นมาให้คุณสามารถพับเก็บ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับการพกพาได้มากยิ่งขึ้น และรูปแบบการใช้งานก็ยังทำได้ง่าย ด้วยการเปิดแผงออกและวางรับแสงอาทิตย์เพียงเท่านั้น

อย่างไรก็ตามสินค้าโดยส่วนใหญ่ ก็จะต้องถูกติดต้องช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คุณสามารถชาร์จไฟได้ในทันที ซึ่งจะแตกต่างกับแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ ที่จะต้องมีการวางระบบสายอย่างซับซ้อนในขั้นตอนของการติดตั้ง

3. โซล่าเซลล์สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก

โซล่าเซลล์ประเภทนี้จะใกล้เคียงกับแผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ ที่เราใช้งานกันสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในบ้าน แต่จะมีการย่อส่วนมาให้มีขนาดที่เล็กลง ซึ่งรวมไปถึงความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะสามารถทำได้ จึงมีเพียงการเชื่อมต่อเพื่อให้พลังงานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กประมาณ 1 ถึง 2 ตัว ยกตัวอย่างเช่น กล้องวงจรปิด, โคมไฟ หรือสปริงเกอร์รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

โดยที่บางรุ่นการติดตั้งด้วยตัวเองก็จะทำได้ง่ายดายอย่างไม่ซับซ้อน จากการยึดฐานเข้ากับผนังของพื้นที่ที่ต้องการ แต่สำหรับโซล่าเซลล์ประเภทนี้ก็ยังอาจมีบางรุ่น ที่ถูกออกแบบมาเพื่อกล้องวงจรปิดบางประเภทโดยตรงด้วยเช่นกัน

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

ทุกวันนี้ตัวแผงโซล่าเซลล์จะมีการผลิตเพื่อนำมาใช้งานทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ผลิตต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล

1.  โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ผลิตจากซิลิคอนเชิงเดี่ยว (ซิลิคอนที่มีมาตรฐานสูงสุด) แล้วผ่านขั้นตอนการดึงผลึก คือการทำผลึกให้รวมกันอยู่บริเวณแกนกลางจนเป็นรูปทรงแท่งกระบอก แล้วตัดออกให้เป็นแผ่น ลักษณะภายนอกที่โดดเด่นของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ ทั้ง 4 มุม จะถูกตัดลบออกจนเป็นสี่เหลี่ยม สีจะเข้มกว่าประเภทอื่น ใช้งานได้ทนทาน ยาวนานที่สุด ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะและผลิตกระแสไฟได้สูงสุด แต่ก็แลกมาด้วยราคาที่ถือว่าสูงพอตัว

2.  โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

ผลิตจากตัวผลึกซิลิคอน ซึ่งผ่านกระบวนการหลอมละลายด้วยการเทซิลิคอนแบบเหลวเทใส่ลงโมลด์ แล้วอัดเข้ารูป ตัดออกให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมไม่ตัดมุม สีจะออกน้ำเงินไม่เข้มเหมือนแบบแรกซึ่งการใช้งานจะมีประสิทธิภาพไม่ได้สูงมากทว่าราคาก็ถูกลงกว่าอย่างชัดเจน

3.  แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

จริง ๆ แล้วชนิดนี้อาจยังไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนักเนื่องจากยังมีคนใช้งานกันน้อย ผลิตจากการฉาบสารชนิดหนึ่งลงไปบาง ๆ บนแผงโซล่าเซลล์ คุณสมบัติของสารดังกล่าวนี้จะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการใช้งานอาจไม่สูงมากนัก (ประมาณ 7-13%) ขึ้นอยู่กับตัววัสดุที่ใช้ผลิตเป็นฟิล์มฉาบ การใช้งานตามบ้านเรือนจึงยังถือว่าไม่เยอะเท่าไหร่

รูปแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

1.  ระบบออนกริด (On Grid)

กระบวนการทำงานประเภทนี้จะมีระบบเปลี่ยนพลังงานกระแสตรง (DC) ให้เป็นพลังงานกระแสสลับ (AC) ผ่านตัว Tie Inverter เพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านเรือน แต่จะไม่มีตัวแบตเตอรี่ที่ใช้สำรองไฟ

ความพิเศษคือ สามารถนำกระแสไฟไปขายต่อการไฟฟ้าได้ หรือในกรณีที่กำลังไฟจากแผงผลิตออกมาไม่ได้เต็มที่ ตัวควบคุมก็จะดึงเอากระแสไฟจากการไฟฟ้ามาทดแทน เหมาะกับการใช้งานตามบ้านเรือนในเมืองทั่ว ๆ ไปที่กระแสไฟฟ้าเข้าถึงปกติ

2.  ระบบออฟกริด (Off Grid)

ระบบนี้จะตรงข้ามกับแบบออนกริดกันอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นระบบแบบปิด ไม่มีการนำเอากระแสไฟของการไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงนิยมใช้งานกับพื้นที่ห่างไกลต่าง ๆ หลักการทำงานเบื้องต้นคือ เมื่อตัวแผงรับเอาพลังงานกระแสตรง (AC) มาไว้ที่ตัวคอนโทรลชาร์จ จะมีการสะสมพลังงานเก็บเอาไว้ที่แบตเตอรี่ พอเกิดการใช้งาน กระแสไฟดังกล่าวจะส่งผ่านต่อไปยัง Inverter เปลี่ยนเป็นกระแสไฟสลับ (DC) เพื่อกระจายไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อไป

ความพิเศษคือ แม้ช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือตอนกลางคืนก็ยังคงใช้พลังงานได้ตามปกติ เนื่องจากมีการสำรองไฟกับแบตเตอรี่เอาไว้แล้ว

วิธีดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์ให้ใช้งานได้ยาวนาน

วิธีดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์ให้ใช้งานได้ยาวนาน

ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า ปกติแล้วแผงโซล่าเซลล์จะมีอายุการใช้งานได้ถึง 20 ปี แต่ทั้งนี้ใช่ว่าจะเหมือนกันหมดเพราะถ้าขาดการดูแลรักษาที่ดีอาจทำให้ต้องเสียเงินในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่บ่อย ๆ ได้ จึงควรรู้วิธีดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

1.  ทำความสะอาดเป็นประจำ

ด้วยความที่แผงโซล่าเซลล์จะต้องอยู่ด้านนอกตัวบ้านหรือนอกอาคารเสมอ จึงมีโอกาสพบเจอกับสิ่งสกปรกได้บ่อยครั้ง อาทิ เศษใบไม้, คราบน้ำมัน, ฝุ่นละออง, มูลสัตว์ ฯลฯซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบการทำงานและการหมุนเวียนไฟฟ้าโดยตรง จึงต้องทำความสะอาดบ่อย ๆ

ซึ่งวิธีทำความสะอาดแนะนำว่าควรใช้น้ำเปล่าไม่ต้องผสมสารหรือน้ำยาใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวแผงเพราะบางทีน้ำยาที่ใช้อาจมีสารเคมีบางชนิดไปทำปฏิกิริยากับระบบไฟฟ้าหรือวัสดุบนแผงโซล่าเซลล์จนพังเสียหายได้

2.  ตรวจสอบการใช้งานเป็นประจำ

นอกจากการทำความสะอาดแล้วควรหมั่นตรวจสอบบริเวณต่าง ๆ ของตัวแผงเป็นประจำด้วย เช่น นอตที่ใช้ยึดระหว่างแผงกับเสาตั้งต้องแน่นหนา ไม่คลายตัว แผ่นกระจกด้านบนไม่ควรมีรอยแตกร้าวใด ๆ เกิดขึ้น สายไฟที่เชื่อมต่อต้องไม่มีรอยรั่วหรือฉีกขาด เป็นต้น หากพบเจอบริเวณใดผิดปกติต้องรีบแก้ไขทันที

3.  การดูแลเพิ่มเติมหากตั้งแผงบนพื้น

สำหรับบางแห่งที่ไม่ได้มีการยกแผงโซล่าเซลล์ไว้บนเสาหรือไม่ได้อยู่บนหลังคา แต่เลือกวางไว้กับพื้นดินทั่วไป แนะนำว่าควรมีการระวังความเสียหายจากคนและสัตว์ด้วย เช่น มีการล้อมคอกเพื่อให้คนอื่นสังเกตเห็นง่าย อีกทั้งยังป้องกันสัตว์เข้าไปเดินเหยียบด้วย

บทสรุป แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2024

การเลือกซื้อ แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี ซักหนึ่งรุ่น ที่จะทำให้คุณใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดนั้น จะต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสำหรับคนที่ต้องการเลือกซื้อให้ง่ายดายได้ในทันที เราขอแนะนำ Upspirit Mono 400W โดยเฉพาะสำหรับคนที่มองหาแผง เพื่อติดตั้งและใช้สร้างกำลังไฟฟ้าภายในบ้าน เนื่องจากมีคุณภาพในการรับพลังงานที่ยอดเยี่ยม และมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานระดับสูงและรวดเร็ว รวมไปถึงยังทนทานมากเพียงพอ จนทำให้คุณใช้งานได้ยาวนานหลาย 10 ปี ต่อการติดตั้งเพียงครั้งเดียวอีกด้วย แต่สำหรับคนที่มองหาสิ่งอื่น ๆ เราก็มีสินค้าที่น่าสนใจอย่างเครื่องดูดฝุ่นหรือไมโครเวฟ ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านให้คุณเลือกซื้อได้อีกด้วย

Similar Posts