สำหรับบทความวันนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank กันค่ะ ซึ่งในยุคปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อโซเชียล สังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของเรามากขึ้น ทั้งเพื่อความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เล่นแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ รวมไปถึงการทำงาน จะเห็นได้ว่าวงจรชีวิตของคนในปัจจุบันมักจะอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งในทุกกิจกรรมที่กล่าวมานั้นล้วนแต่ใช้ระยะเวลายาวนาน ส่งผลทำให้แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือหมดเร็วขึ้น และความจุของแบตเตอรี่มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในแต่ละวันของคนส่วนมาก
แม้คนส่วนใหญ่จะพกสายชาร์จติดกระเป๋าไว้ตลอด แต่การหาจุดชาร์จแบตนั้นยากซะเหลือเกิน เพราะถ้าหากไม่มีปลั๊กให้เสียบชาร์จ สายชาร์จที่มีก็ไม่ช่วยอะไรเลย เพื่อความสะดวกสบายจึงได้เกิดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่เรียกกันติดปากว่า “Power Bank” หรือ “แบตเตอรี่สำรอง” ขึ้นมานั่นเองPower Bank หรือพาวเวอร์แบงค์ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ช่วยในการชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ แท็บแลต หรืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่าง ๆ ที่ใช้ปริมาณแบตเตอรี่ไฟฟ้าไม่มากนัก มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก
วิธีใช้งานนั้นแสนง่ายดาย เพียงแค่เสียบสายชาร์จสมาร์ตโฟนต่อเข้ากับ Power Bank แค่นี้มือถือของเราก็ชาร์จไฟเพิ่มได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องกังวลหาที่ชาร์จอีกต่อไป และด้วยขนาดที่เล็กกะทัดรัด จึงสะดวกในการพกพาติดตัวไปได้ทุกที่ และใช้งานในชีวิตประจำวันทุกวันได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องกลัวขาดการติดต่อ แฟนไม่โมโหหรือต้องกังวลใจเวลาจะติดต่อขนาดความจุไฟของ Power Bank มีตั้งแต่ 2200 mAh – 20000 mAh หรือหากเปรียบเทียบได้กับการชาร์จ iPhone จาก 0% จนเต็ม 100% ได้เกือบ 20 รอบ
ปัจจุบัน Power Bank ได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่ผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกใช้กัน มีทั้ง Power Bank ไร้สาย และแบบใช้สาย หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน และในวันนี้เราจะทุกคนไปทำความรู้จักกับเจ้าตัว Power Bank ให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank ลองไปอ่านดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ประโยชน์ของ Power Bank
Power Bank นับเป็นแบตเตอรี่พกพาที่มีการใช้งานกันทั่วไปอย่างล้นหลาม และถือเป็น Accessory ที่จำเป็นต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กต่าง ๆ ที่ใช้ไฟไม่มาก นอกจากจะสามารถใช้ชาร์จสมาร์ตโฟนได้แล้ว ยังสามารถใช้ชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิ แท็บเล็ต, หูฟังแบบ wireless, สมาร์ตวอทช์, ลำโพง, smart home เป็นต้น ไปจนถึงยังมีประโยชน์อื่น ๆ เช่น
1. ความจุ: ความจุของแบตเตอรี่ที่มากกว่ามือถือหลายเท่าตัว เราจึงสามารถชาร์จอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
2. จำนวนพอร์ต : หลาย ๆ รุ่น เราสามารถชาร์จอุปกรณ์พร้อม ๆ กันมากกว่าหนึ่งเครื่องได้
3. ฟังก์ชันเสริม : บางรุ่นมีการใส่ฟังก์ชันพิเศษ เช่น บางรุ่นเป็นตัวปล่อยไวไฟแบบพกพา (Pocket Wi-Fi) หรือในบางรุ่นสามารถชาร์จไฟด้วยตัวเอง จากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือผ่านแผงโซล่าเซลล์ เป็นต้น
4. เทคโนโลยีการชาร์จเร็ว : ปัจจุบันเทคโนโลยีการชาร์จเร็ว มีติดทุกเครื่อง ทำให้เราชาร์จอุปกรณ์ได้เร็วมากยิ่งขึ้น
วิธีการใช้ที่ถูกต้องของ Power Bank
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank เบื้องต้น ที่เราควรคำนึงคือ เรื่องของการใช้งาน โดยทั่วไป Power Bank หรือ แบตเตอรี่สำรอง เป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับบรรจุพลังงานไฟฟ้าลงไป และสามารถบรรจุซ้ำได้เรื่อย ๆ หากพลังงานในแบตเตอรี่หมดไป และเมื่อเราซื้อ Power Bank มาแล้วนั้น ก่อนอื่นควรตรวจเช็กลักษณะภายนอกทั่วไปก่อนว่ามีร่องรอยการขีดข่วน รอยบุบ หรือมีอาการบวมของแบตเตอรี่หรือไม่
หากลักษณะภายนอกปกติแล้ว ลองทดสอบว่าแบตเตอรี่สำรองที่เราซื้อสามารถชาร์จเข้ากับโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนได้หรือไม่ หากทุกอย่างปกติ ก็นำตัว Power Bank ไปชาร์จจนแบตเตอรี่เต็มถึงค่อยนำไปใช้งาน โดยทั่วไปตัว Power Bank จะมีช่องรับกระแสไฟฟ้าจากไฟบ้านเข้าสู่ตัวแบตเตอรี่ เรียกว่า Input และมีช่องสำหรับจ่ายพลังงานออกจากตัวแบตเตอรี่ที่ เรียกว่า Output นั่นเอง
เมื่อชาร์จไฟจนแบตเตอรี่เต็มแล้วก็สามารถนำ Power Bank พกติดตัวไปไหนก็ได้ เพียงแค่เสียบสาย USB เข้ากับช่อง Output หลังจากนั้นก็เสียบสายเข้ากับโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ตโฟน เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ตามความจำเป็นของเราได้เลย แต่ใน Power Bank บางรุ่นอาจจะมีปุ่มให้กดก่อนเพื่อให้แบตเตอรี่ทำงาน
วิธีชาร์จแบตเตอรี่ Power Bank
วิธีชาร์จแบตเตอรี่ Power Bank โดยส่วนมากมีลักษณะการใช้งานที่เหมือนกันแทบทุกยี่ห้อและทุกรุ่น และเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นจึงขออธิบาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
1. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเสียบ Power Bank
Power Bank ส่วนใหญ่ แทบจะทุกรุ่นทุกยี่ห้อ จะมีแถบไฟ LED แสดงปริมาณความจุของแบตเตอรี่ให้ทราบว่า เหลือเท่าไหร่ ดังนั้น ข้อควรระวังอย่างยิ่ง คือ อย่าชาร์จ Power Bank โดยพลการ ในขณะที่ปริมาณแบตเตอรี่ยังเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากพูดถึงอันตรายหรือสร้างความเสียหายร้ายแรงแก่ผู้ใช้งานนั้นคงไม่มี แต่จะส่งผลทำให้ Power Bank มีอายุการใช้งานสั้นลงได้
ข้อแนะนำ เพื่อยืดอายุการใช้งานที่ดี หากพบว่าไฟ LED แสดงความจุเหลือต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ค่อยนำ Power Bank ไปชาร์จไฟเพิ่ม และทางที่ดีควรนำ Power Bank ใช้ควบคู่กับการใช้งานกับ Adapter ที่มาพร้อมกับ Power Bank หลีกเลี่ยงชนิดที่ต่างกัน หรือต่างยี่ห้อ
2. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการชาร์จ Power Bank
แต่ละยี่ห้อและรุ่นของ Power Bank ที่เราซื้อ โดยปกติแล้ว ทางผู้ผลิตจะแถมคู่มือการใช้งานให้เสมอ รวมถึงระบุรายละเอียดเอาไว้ว่า ต้องเสียบชาร์จนานแค่ไหน การเปิดปิด ไปจนถึงวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้องเอาไว้ และขั้นตอนแรกของการใช้งาน จะมีเขียนระบุคำแนะนำไว้ว่าให้ชาร์จไว้นานแค่ไหน โดยให้สังเกตไฟ LED ที่แสดงปริมาณความจุแบตเตอรี่ Power Bank ว่ามีไฟติดครบทุกดวงไหม หรือในบางยี่ห้อ บางรุ่นอาจจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ ถ้าไฟติดครบทุกดวงแล้วแสดงว่าชาร์จแบตเตอรี่เต็มแล้ว ให้ทำการถอดสายชาร์จทันที อย่าทิ้งไว้นานจนเกินไป
ซึ่งหากไฟ LED เสีย ให้ถอดสายชาร์จหลังชาร์จครบตามเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือของแต่ละยี่ห้อที่ได้แนะนำเอาไว้ หลังจากนั้นให้เสียบสายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับ Power Bank ด้วยสาย USB แต่ถ้าหากชาร์จไม่เข้า หรือไม่มีไฟ ให้ลองเสียบชาร์จกับปลั๊กอื่น ลองเปลี่ยนสาย เช็กรูเสียบ แต่ถ้ายังชาร์จ Power Bank ไม่ได้อีก แสดงว่า Power Bank น่าจะเสีย ให้ติดต่อผู้ผลิต หรือตัวแทนจำหน่าย เพื่อเปลี่ยนใหม่
3. ข้อแนะนำในการชาร์จ Power Bank
ในขณะที่ชาร์จ Power Bank ไม่ควรชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะไปดึงไฟจาก Power Bank ทันทีหลังชาร์จเสร็จ ส่งผลทำให้แบตเตอรี่ของ Power Bank เสื่อมเร็วขึ้นได้ และแนะนำว่าเวลาชาร์จควรเสียบปลั๊กไฟโดยตรง
เนื่องจาก Power Bank เต็มเร็วกว่า ไม่ควรชาร์จจากคอมหรือแล็ปท็อป เพราะจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพการใช้งาน โดยปกติแล้วเมื่อเราซื้อ Power Bank มักจะมาพร้อมกับสายชาร์จที่มีพอร์ต USB และ Adapter สำหรับชาร์จโดยเฉพาะ ควรใช้สายชาร์จที่ติดมาด้วยเท่านั้น ไม่ควรเสียบชาร์จ Power Bank ทิ้งไว้นานจนเกินไป เพราะการชาร์จ Power Bank ทิ้งไว้นานหลายชั่วโมงจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน รวมถึง Power Bank นั้นเสื่อมเร็วขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank ในการพิจารณาเลือกซื้อ
นอกจากสิ่งที่ควรรู้ในการใช้งาน Power Bank แล้ว เรายังมีข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อที่จะทำให้ท่านผู้อ่านสามารถตัดสินใจเลือกซื้อ Power Bank ได้ตรงกับความต้องการใช้งานของทุกคน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันค่ะ
1. ชนิดของแบตเตอรี่แต่ละชนิด
สำหรับแบตเตอรี่ที่นิยมนำมาผลิต Power Bank โดยทั่วนมี 2 ชนิดคือ Lithium Ion และ Lithium Polymer
Lithium Polymer เป็นแบตเตอรี่แบบล่าสุด มีลักษณะคล้ายการ์ด มีความยืดหยุ่นสูง สามารถนำไปสร้างสรรค์ power bank เป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดนี้มีน้ำหนักค่อนข้างเบา และมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัย จึงทำให้แบตเตอรี่ประเภทนี้ค่อนข้างมีราคาสูง
Lithium Ion เป็นแบตเตอรี่รุ่นเก่ากว่า มีราคาถูก และยังเป็นที่นิยมของคนส่วนมากอยู่ มีความโดดเด่นเรื่องมีความหนาแน่นสูง ทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้สามารรถจุพลังงานไฟฟ้าได้จำนวนมาก
นอกจากนี้การเปิดงานครั้งแรกยังไม่จำเป็นต้องผ่านการกระตุ้นไฟก่อน แต่เนื่องจากแบตเตอรี่ประเภทนี้มีอัตราการปล่อยพลังงานต่ำ ทำให้ไม่สามารถผลิตออกมาในรูปทรงอื่นได้ นอกจากสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสามารถชาร์จพลังงานกลับเข้าไปใน power bank ได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องรอให้แบตลดลงเหมือนประเภทอื่น แต่มีข้อจำกัดเรื่องของการเสื่อมสภาพเซลล์แบตตลอดเวลาแม้ไม่ได้ใช้งานก็ตาม
2. ขนาดความจุแบตเตอรี่
ขนาดความจุของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ จะระบุไว้บนผลิตภัณฑ์เป็นหน่วย Milli-amps Hour (mAH) มีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ 800 mAh ไปจนถึง 40000 mAh หรือสูงกว่านี้ และจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank ว่า ตัวเลขที่ทางผู้ผลิตระบุเอาไว้ มีค่าความจุแบตเตอรี่น้อยกว่าที่แจ้งไว้ประมาณ 10-20% ตัวอย่างเช่น หากเป็นขนาด 10,000 mAh หมายความว่าขนาดแบตเตอรี่ที่ใช้ได้จริงจะอยู่ที่ 8,000 mAh เป็นต้น
3. ความต้องการใช้งานที่เหมาะสม
ต้องคำนึงถึงขนาดความจุแบตเตอรี่ mAH ของอุปกรณ์ที่เราต้องการชาร์จ หรือที่เรามี ขนาดแอมป์ในการชาร์จไม่ต่ำกว่าค่าแอมป์ของอุปกรณ์ที่จะชาร์จไฟเข้า เพื่อถนอมอายุการใช้งานของอุปกรณ์ของเรา เช่น ถ้ามือถือใช้ 2.1A ตัว Power Bank ก็ควรจะเป็น 2.1A ขึ้นไป เพราะถ้าแอมป์ต่ำกว่าจะทำให้ชาร์จได้ช้ากว่าปกติ หรือถ้ามากไปก็อาจจะทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานต่ำ
4. ชนิดของสายเสียบเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
เลือกจำนวนพอร์ตให้ตรงกับการใช้งานของอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ รวมถึงช่องสายเสียบหลายชนิดสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ คำนึงถึงประโยชน์สูงสุด
5. ข้อแนะนำด้านความปลอดภัย
เลือกซื้อ power bank ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน และมีคุณภาพดีเท่านั้น เพื่อรักษาอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคของเราให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ข้อควรระวัง และการดูแลรักษา Power Bank
1. อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่หมด นำกลับมาชาร์จทุกครั้งหลังความจุเหลือปริมาณต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้น
2. นำมาชาร์จเดือนละครั้ง หากไม่ได้ใช้งาน Power Bank เป็นเวลานาน ควรนำมาชาร์จแบตเตอรี่อย่างน้อยเดือนละครั้ง เนื่องจากถ้าปล่อยไว้นาน ๆ แบตเตอรี่จะยิ่งเสื่อมเร็วขึ้น
3. ใช้สายชาร์จที่ได้มาตรฐาน หรือควรใช้ควบคู่กับของที่ทางผลิตให้มาด้วย
4. อย่าชาร์จ power bank ในขณะที่โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ใด ๆ กำลังชาร์จกับ Power Bank เพราะจะส่งผลเสียต่อทั้งแบตเตอรี่ของมือถือของเรา
5. เลี่ยงความร้อนและความชื้น ซึ่งเราไม่ควรเก็บ Power Bank ไว้ในที่ที่มีความร้อนหรือมีความชื้นสูง เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ และแผงวงจรภายในเสื่อมเร็วขึ้น
6. ระวังอย่าให้ power bank ตกหล่อนบ่อย หรือเกิดการกระแทกบ่อย ๆ เพราะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการเก็บประจุไฟและการชาร์จไฟที่ลดลงได้
Power Bank ชนิดไหนบ้างที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ และข้อยกเว้น
เราสามารถนำพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบินได้ทุกยี่ห้อที่ผ่านมาตฐานการผลิต เพียงแค่ห้ามโหลดใต้เครื่อง เพราะว่า พาวเวอร์แบงค์ เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้เซลล์ลิเธียมทำให้มีโอกาสที่จะติดไฟได้ง่าย และการนำขึ้นเครื่องนั้น ต้องไม่เกินตามที่สายการบินกำหนดไว้ ตามมาตรฐานความปลอดภัยของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ดังนี้
- Power Bank ขนาดความจุ 20,000mAh – 32,000mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ไม่เกิน 2 ก้อน
- Power Bank ขนาดความจุต่ำกว่า 20,000mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ไม่จำกัดจำนวน
- Power Bank ขนาดความจุมากกว่า 32,000mAh ห้ามนำขึ้นเครื่องบินทุกกรณี
บทความทิ้งท้าย ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Power Bank ทั้งในเรื่องประโยชน์ วิธีการใช้งาน การเลือกซื้อ ตลอดจนข้อควรระวัง และการดูแลรักษา Power Bank ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราควรรู้ไว้สักนิด สำหรับหลายคน อาจดูจะเป็นเรื่องยุ่งยากไปสักหน่อย แต่อย่าลืมว่า power bank เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นหนึ่ง ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และจะเห็นได้ว่า Power Bank มีส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก ถือเป็นอุปกรณ์คู่ใจอีกชิ้นที่เราไม่ควรพลาดเป็นเจ้าของ ส่วนใครที่อ่านแล้ว อยากจะเลือกซื้อ เราขอแนะนำไปเลือกซื้อได้ที่ 10 Power bank ยี่ห้อไหนดี กันได้เลยค่ะ